Car Park 19: ตัวอย่าง Inclusive Design แบบที่ไม่ต้องแสดงทางกายภาพ แต่อยู่ในจิตใจ ของ รปภ.อาคาร YWCA-สาธร @ 57-06-16

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้อารมณ์ผมอาจจะแปลกๆ สักนิด คือ แม้ว่าจะไม่ค่อยมีเวลาพิมพ์บทความสักเท่าไหร่ แต่บทความนี้ไม่พิมพ์ไม่ได้ เพราะเป็นความแตกต่างที่ไม่ค่อยพบบ่อยนัก เนื่องจากผมมักจะขุ่นๆ เคืองนิดๆ บางทีก็ปี๊ดๆ ตามสถานการณ์เวลาเห็นรถที่ไม่มีสติ๊กเกอร์สัญลักษณ์คนพิการหน้ากระจกรถ แล้วไปจอดอยู่ตรงที่จอดรถคนพิการ บางแห่งผมลดกระจกถามเลยว่า "คุณแน่ใจรึเปล่าว่าเป็นรถคนพิการ" ถ่ายภาพมาเก็บไว้ก็เยอะ

เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.57 ผมได้มีโอกาสมาประชุมสำคัญกับทาง Datapro Computer Systems Co., Ltd. (DCS) เกี่ยวกับโปรเจ็คการพัฒนาเว็บ และงานพัฒนาอาชีพคนพิการ รู้สึกดีๆ ตั้งแต่ลานจอดรถแล้ว เริ่มจากที่จุดรับบัตรตอกของอาคาร YWCA รปภ.ผู้หญิงพูดจาดี เราบอกเธอว่า มีรถเข็น มีที่จอดรถคนพิการไหม เธอว่าให้ไปที่ชั้น 2 พอขึ้นไปถึง มี รปภ.ผู้ชาย ยืนมองเราแต่ไกล โบกมือให้ไปจอดตรงที่จอดใกล้ทางเข้าลิฟต์แบบพอดีๆ




หน้าอาคาร YWCA บนถนนสาธร ไม่ไกลจากแยกสะพานเบลเยี่ยมเท่าไหร่



ที่จอดรถที่ผมได้จอด จาก รปภ.ที่เตรียมที่ไว้ให้ มีป้ายคำว่า "ห้ามจอด" จากน้ำเสียงของ รปภ.หญิง ที่พูดจากฉะฉานว่า "ไปจอดที่ชั้น 2 ได้เลยคะ" และด้วยหน้าตาที่ยิ้มแย้มของ รปภ.ชาย เมื่อเราจอดรถเสร็จ เดาทางไดว่า รปภ.ที่อาคาร YWCA มีประสบการณ์แน่นอน ถึงการมาใช้บรการที่จอดรถของคนพิการ นึกต่อไปถึงหัวหน้างาน และฝ่ายอาคาร

เป็นเหตุการณ์ตรงกันข้ามกับอาคารที่มีสัญลักษณ์คนพิการแต่จอดรถไม่ได้ เพราะมีรถที่ไม่มีสติ๊กเกอร์คนพิการมาจอด

ผมเริ่มมองเห็นความแตกต่างระหว่างข้อความว่า "ห้ามจอด" กับ สัญลักษณ์คนพิการ ในมุมนี้บ้าง และนึกเลยไปถึงภายในจิตใจของคนในสังคมที่มีทรรศนะต่อสัญลักษณ์คนพิการว่ามัก เบียดเบียน มากกว่า แบ่งปัน แต่ถ้าจะให้สุดยอด มันต้องมีตัวกลางที่ทำให้ Inclusive คือทุกคนสามารถใช้ร่วมกันได้ คนพิการไม่ได้ใช้ คนไม่พิการก็สามารถมาใช้ได้ คงจะมีคำที่เหมาะสมในอีกเร็วๆ นี้ครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น